“ผมผ่านชีวิตอันมากด้วยความอัปยศ” ดะไซ โอซามุ

                เมื่อพูดถึงนักเขียนวรรณกรรมของญี่ปุ่น สิ่งแรกที่จะนึกถึงกันก็คือผลงานวรรณกรรมที่มีความดำดิ่งไปถึงก้นลึกของจิตใจ โดยส่วนมากนักเขียนจะเล่าพรรณนาถึงชีวิตที่ตัวเองนั้นได้ประสบพบเจอในช่วงชีวิต หรือไม่ก็นวนิยายที่แสดงความบิดเบี้ยววิปริตของด้านมืดในจิตใจมนุษย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เรามองข้ามไม่ได้คือหลายๆ คนล้วนเลือกจบชีวิตด้วย “การฆ่าตัวตาย” ตามวิถีซามุไรที่รู้จักกันดีคือ “บุชิโด” เสียชีพไม่เสียเกียรติ ผู้ที่เลือกจบชีวิตตนเองจะได้รับการยกย่อง แซ่ซ้อง ถึงความกล้าหาญ กระทั่งถูกเชิดชูเป็นบุคคลสำคัญ สำหรับนักเขียนญี่ปุ่นผู้ซึ่งกระทำอัตวิบาตรกรรมได้น่าจดจำและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของคนไทย ณ เวลานี้คงหนีไม่พ้น

“ดะไซ โอซามุ”  (1909-1948)

ดะไซ กับบาร์ลูแปง

       ดะไซ  เป็นที่รู้จักในเมืองไทยจากผลงานอันลื่อลั่นอย่าง “สูญสิ้นความเป็นคน” ที่ได้รับความนิยมจนต้องตีพิมพ์ซ้ำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้วยจำนวนที่เหนือความคาดหมาย  โดยหนังสือเล่มนี้ได้มีความเกี่ยวโยงกับชีวิตจริงของนักเขียนเองด้วย  ถือเป็นผลงานลำดับท้ายๆ ก่อนที่เขาจะเลือกจบชีวิตตนเอง

9786164134539
สูญสิ้นความเป็นคนฉบับภาษาไทย โดยสำนักพิมพ์เจลิท

      ในนิยายเราจะพบว่าตัวเอกของเรื่อง (โยโซ) มีความหวาดกลัวจิตใจของฝ่ายตรงข้ามและไม่เชื่อมั่นในตัวมนุษย์ด้วยกัน  ภาพที่เขาเห็นคือโลกนี้ล้วนโหดร้าย พวกมนุษย์ต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน และปฎิบัติตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ในขณะที่ตัวละครของเขาเลือกที่จะซุกซ่อนความเป็นตัวเองในเบื้องลึกด้วยการนำเสนอตัวตนในรูปแบบให้คนอื่นเข้าถึงง่าย ภาพลักษณ์ของดะไซเองก็ไม่ได้ต่างกันคือแสร้งเป็นคนอัธยาศัยดี และพยายามสร้างบรรยากาศอันน่ารื่นรมณ์เวลาที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งที่ภายในจิตใจของเขากรีดร้องและเฝ้าอุทรณ์ต่อความศรัทธาที่มีต่อชีวิตอันน่าอดสูของตัวเองเสมอ

1387854128-7100531105-o
รูปจากภาพยนตร์ No Longer Human ปี ค.ศ. 2010
D2OgX5HUcAAgTUD
รูปจากภาพยนตร์เรื่อง Ningen Shikkaku ปี ค.ศ. 2019

          ระหว่างที่ญี่ปุ่นค่อยๆ มอดไหม้ไปกับไฟสงคราม ทำให้ดะไซผู้ซึ่งสิ้นหวังกับชีวิตพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง ทั้งกระโดดน้ำ แขวนคอ ฯลฯ จนในที่สุดปี 1948 หลังจากที่สงครามสงบลงแต่ญี่ปุ่นพังพินาศ ก็มีคนพบร่างของดะไซและแฟนสาว ยามาซากิ โทมิเอะ ที่หายตัวไปก่อนหน้านั้นหนึ่งสัปดาห์พร้อมโน้ตลาตายลอยขึ้นมาในคลองทามะงาวะ (แถบมิตากะ กรุงโตเกียวในปัจจุบัน) และคงเป็นเรื่องบังเอิญที่วันซึ่งพบศพคือวันเดียวกันกับวันเกิดอายุครบ 37 ปีของเขา

07-72700
อนุสรณ์ของดะไซ

         เรียกได้ว่าผลงาน “สูญสิ้นความเป็นคน” ก็คือการเขียนอัตชีวประวัติด้วยมือของนักเขียนเองอย่างไม่ตั้งใจ  เพราะ “โยโซ” เองนั้นก็มีจุดจบไม่ต่างกันนัก หากวลีที่ว่า “เมื่อใดที่เราไม่อาจเข้าใจในผลงานที่นักเขียนนำเสนอ แต่หากเรารับทราบถึงประวัติของนักเขียนคนนั้นพอสังเขป เราจะสามารถตีความสิ่งที่นักเขียนต้องการสื่อผ่านตัวอักษรได้ไม่มากก็น้อย” เป็นจริง ก็ถือได้ว่าวรรณกรรมชั้นยอดจากประเทศญี่ปุ่นเล่มนี้มีคุณค่าควรแก่การอ่านและศึกษาเพื่อเรียนรู้ถึงความซับซ้อนในจิตใจมนุษย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ

img_2653
ความคลั่งไคร้ของเหล่าคอวรรณกรรมกับการนำผลเชอร์รี่มาตกแต่งตามชื่อผลงานเรื่องสั้น ณ สุสานวัดเซ็นริวจิ

         อนึ่ง ในช่วงท้ายๆ ของชีวิต ดะไซเลือกใช้ชีวิตในเมืองโตเกียว ย่านมิตากะ ซึ่งทางเมืองเองก็ยังคงอนุรักษ์และคงไว้ซึ่งสิ่งก่อสร้างที่เป็นหนึ่งในหน้าตำนานของนักเขียนสุดอีโม หากไม่นับรวมสุสานที่วัดเซ็นริวจิ เรายังสามารถไปชมบ้านเก่า ร้านค้าและบาร์ที่แสนโปรดปราน เส้นทางดอกอะจิไซ ตลอดจนทางเดินเลียบแม่น้ำทามะกาว่า จุดที่เขาเคยมานั่งเหม่อมองชีวิตอันใกล้สิ้นสูญได้อีกด้วย

dsc-3889-largejpg
dazai Osamu Literary Salon (Mitaka Japan)

 ถึงขนาดนี้แล้วจะไม่ลองละเอียดยลผลงานขวัญใจวัยรุ่นญี่ปุ่นและท่องเที่ยวตามรอยสถานที่ที่เกี่ยวโยงและมีอิทธิพลต่อชีวิตตลอดจนมุมมองของนักเขียนผู้เฉิดฉายท่ามกลางโลกอันสูญสิ้น “ผมผ่านชีวิตอันมากด้วยความอัปยศ” กันอีกหรือคะ ?